วิธีดีไซน์เพื่อโลกที่ยั่งยืน

วันนี้ Qualy มีวิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ยั่งยืนแบบง่ายๆ 7 ข้อ ที่มาจากประสบการณ์จริง มาแชร์ให้เพื่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ หรือนักออกแบบ ก็ลองทำตามดูได้ ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกข้อ สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับธุรกิจตัวเองได้ สำหรับผู้บริโภค สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกซื้อสินค้าที่รักษ์โลกได้นะ

7 วิธีดีไซน์ผลิตภัณฑ์ให้ยั่งยืน

1.ฟังก์ชันรักษ์โลก

เริ่มจากการออกแบบให้สามารถลดการใช้ทรัพยากรลงได้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ช่วยประหยัดน้ำประหยัดพลังงาน หรือใช้ซ้ำแทนการใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่นกระถางต้นไม้ Self-watering ที่สามารถเก็บน้ำไว้ในกระถาง ทำให้ต้นไม้ดูดน้ำที่เติมได้ทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเติมน้ำ 1 ครั้งจะอยู่

ได้ 1-2 สัปดาห์ หรือปิ่นโต กล่องอาหาร แก้ว ขวดน้ำพกพา หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทำหน้าที่ได้หลายๆ อย่างในชิ้นเดียว ก็นับเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเช่นกัน

2.วัสดุรักษ์โลก

ถ้าเลือกได้ควรใช้วัสดุรีไซเคิล เพราะจะช่วยลดการนำทรัพยากรใหม่มาใช้ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และขยะจะถูกนำกลับมารีไซเคิลกันมากขึ้น ถ้าภาคธุรกิจมีความต้องการใช้กันมากๆ ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และสุขอนามัยความปลอดภัยของผู้ใช้ เช่น เรื่องการสัมผัสอาหาร และข้อกฎหมายในแต่ละประเทศที่จะอนุญาตให้ใช้วัสดุรีไซเคิลในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์

3.สื่อสารปัญหาสิ่งแวดล้อม

การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ สามารถสื่อสารเรื่องราวข้อมูลต่างๆ ปัญหาสังคมสิ่งแวดล้อม หรือแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนไปสู่ผู้บริโภคได้ เพื่อร่วมกันสร้างความรับรู้ไปสู่การผลิต และบริโภคแบบยั่งยืนไปด้วยกัน

4.ประหยัดการขนส่ง

เป็นกระบวนการที่ส่งผลต่อการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และการปล่อยมลพิษจากยานพาหนะอันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน กุญแจสำคัญในการออกแบบ คือ การลดขนาด หรือน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ ก่อนถึงมือผู้บริโภค สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การแยกชิ้นส่วนสินค้าให้ลูกค้าไปประกอบเอง (Knockdown) การซ้อนสินค้าเพื่อประหยัดพื้นที่ (Stacking) นอกจากจะช่วยสิ่งแวดล้อมแล้ว การออกแบบ เพื่อการขนส่งยังสามารถลดต้นทุนทางธุรกิจได้อีกด้วย

5.ยืดอายุการใช้งาน

การออกแบบให้ชิ้นงานมีความทนทานจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นเพื่อไม่ให้ใช้ต้นทุนสูงเกินความจาเป็น ให้ลองพิจารณาเสริมความแข็งแรงเฉพาะ บริเวณที่เป็นจุดอ่อนของผลิตภัณฑ์ที่พบว่าเกิดการเสียหายง่าย และบ่อย หรือออกแบบให้สามารถเปลี่ยนบางชิ้นส่วนที่หมดอายุการใช้งานก่อนได้ สาหรับผลิตภัณฑ์บางอย่างมีอายุการใช้งานสั้นมาก เรียกว่าหมดหน้าที่ในขณะที่สภาพยังดีอยู่ เช่น บรรจุภัณฑ์ อาจมีการออกแบบให้

สามารถนำกลับมาใช้เป็นสิ่งอื่นได้ก่อนหมดสภาพ

6.รีไซเคิลง่าย

เมื่อวันที่ผลิตภัณฑ์หมดอายุการใช้งาน จะต้องเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือกำจัดได้ง่าย การออกแบบจะมีผลต่อการเลือกใช้วัสดุที่จะนำไปรีไซเคิลต่อได้ หรือจะย่อยสลายไปในธรรมชาติการแยกชิ้นส่วนที่มีวัสดุต่างกันควรทำได้ง่าย หรือใช้วัสดุประเภทเดียวกันทุกชิ้นส่วน เพื่อไม่ต้องแยกชิ้น และควรพิจารณาเลือกใช้วัสดุ หรือสีที่มีอัตราการนำกลับมารีไซเคิลสูงไว้ก่อน

7.สร้างเครือข่ายพันธมิตร

โดยเฉพาะเป้าหมายเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องใหญ่เกินกว่าจะทำสำเร็จได้ด้วยองค์กรเดียว เราต้องการความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน NGO และภาคสังคม การเข้าใจปัญหา และความต้องการที่แท้จริง มีความสำคัญอย่างมากต่อการออกแบบ เพื่อความยั่งยืน ผู้ออกแบบจึงต้องรับฟังข้อมูลจากหลายๆ ด้านก่อนตัดสินใจว่าจะเริ่มออกแบบอย่างไร

ถ้าเพื่อนๆ มีไอเดียอื่นๆ สามารถเพิ่มเติม หรือแสดงความคิดเห็นเข้ามาให้เราได้เลยนะ

#qualy#qualydesign#Circulardesign#circulareconomy